ข้อความวิ่ง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ของฉัน-บาสคุง

วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บทที่ 6

บทที่ 6
1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
        อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น  
ระบบคอมพิวเตอร์ในที่นี้ หมายรวมถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เชื่อมกับระบบดังกล่าวด้วย สำหรับอาชญากรรมในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น อินเทอร์เน็ต อาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่ง  
คือ อาชญากรรมไซเบอร์ (อังกฤษ: Cybercrime) อาชญากรที่ก่ออาชญากรรมประเภทนี้ มักถูกเรียกว่า แครกเกอร์
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับ ความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดี
ต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ
อาชญากรทางคอมพิวเตอร์
1. พวกเด็กหัดใหม่ (Novice)
2. พวกวิกลจริต (Deranged persons)
3. อาชญากรที่รวมกลุ่มกระทำผิด (Organized crime)
4. อาชญากรอาชีพ (Career)
5. พวกหัวพัฒนา มีความก้าวหน้า(Con artists)
6. พวกคลั่งลัทธิ(Dremer) / พวกช่างคิดช่างฝัน(Ideologues)
7. ผู้ที่มีความรู้และทักษะด้านคอมพิวเตอร์อย่างดี (Hacker/Cracker )


2. จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
Hacker
แฮกเกอร์ หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจฉริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์โดยเจาะผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยของ  คอมพิวเตอร์ได้ แต่อาจไม่แสวงหาผลประโยชน์
Cracker
แครกเกอร์ หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี  จนสามารถเข้าสู่ระบบได้ เพื่อเข้าไปทำลายหรือลบแฟ้มข้อมูล หรือทำให้  เครื่องคอมพิวเตอร์ เสียหายรวมทั้งการทำลายระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
Spam 
สแปม คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )
Spyware
สปายแวร์ ก็คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ตไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเว็บไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเว็บประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
ม้าโทรจัน (Trojan horse) 
โทรจัน (Trojan) คือโปรแกรมจำพวกหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแอบแฝง กระทำการบางอย่าง ในเครื่องของเรา จากผู้ที่ไม่หวังดี ชื่อเรียกของโปรแกรมจำพวกนี้ มาจากตำนานของม้าไม้แห่งเมืองทรอย โทรจันจะถูกแนบมากับ อีการ์ด อีเมล์ หรือโปรแกรมที่มีให้ดาวน์โหลดตามอินเทอร์เน็ตในเว็บไซต์ใต้ดิน และสามารถเข้ามาในเครื่องของเรา โดยที่เราเป็นผู้รับมันมาโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
บางคนที่เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตจะได้เจอกับอาการที่เครื่องมีอาการแปลก อย่างเช่น อยู่ดีๆ ไดรฟ์ CD-Rom ก็เปิดปิดชักเข้าชักออก ไม่ก็อยู่ดีๆเครื่องก็มีเสียงเพลงอะไรไม่รู้ นึกว่าผีหลอกสะอีก แต่ที่จริงไม่ใช่ หากแต่ตอนนี้เครื่องได้มีผู้บุกรุกเข้ามาในเครื่องและได้เข้ามาควบคุมเครื่องคุณแล้ว ความสามารถของเจ้าม้าไม้โทรจันนี้ไม่ได้มีแค่นี้ แต่สามารถทำให้เครื่องพังได้ทีเดียว
ความสามารถของโทรจันมีเยอะมาก ซึ่งถ้าเข้าใจแบบง่ายๆ ก็คือ ผู้บุกรุกสามารถทำอะไรกับเครื่องขอคุณก็ได้ เหมือนกับเขาได้มานั่งอยู่หน้าเครื่องคุณอย่างนั้นเลย

Virus และ Trojan เหมือนกันอย่างไร
1. เป็นไฟล์ที่ไม่ประสงค์ดีต่อเครื่องของเรา
2. เครื่องเราจะติดเชื้อเมื่อไปเปิดโปรแกรมที่มีไฟล์ Virus หรือ Trojan ที่เกิดจากการโหลดจากอินเตอร์เน็ต หรือเปิดจากแผ่น CD หรือ DVD ต่างๆ

Virus และ Trojan ต่างกันอย่างไร
1. Virus เป็นเพียงไฟล์ที่จะเข้ามาสร้างความปั่นป่วนให้กับเครื่องหรือระบบของเราเท่า นั้น เช่นการลบไฟล์บางตัวใน system หรือการ copy ตัวเองเพื่อให้ harddisk เต็ม
2. Trojan เป็นโปรแกรมขนาดเล็กที่จะเข้ามาฝังตัวในเครื่องของเรา และจะเกิดประโยชน์ต่อเจ้าของ Trojan ที่ส่งมาให้เรา ประโยชน์ของเขานั้นก็เช่น อาจจะเป็นโปรแกรม keylock หรือที่มันจะ lock ID หรือ password ของโปรแกรมบางตัวที่เขากำหนดไว้
เช่น ragnarok ไม่ว่าคุณจะเขาไปเปลี่ยน pass สัก 100 ครั้ง 1000 ครั้ง ถ้าโปรแกรม Trojan ตัวนั้นยังอยู่ในเครื่อง เมื่อท่านเปิด ro และใส่ id และ pass โปรแกรม Trojan จะเริ่ม lock id และ pass ทั้งที และเมื่อท่านต่อเนต เจ้าของ trojan จะเข้ามา hack เครื่องเอา id และ pass ไปได้สบาย ๆ และนั้นคือจุดจบของคุณ

การป้องกันไม่ให้เครื่องโดนเจ้าโทรจันบุกรุก
การติด Trojan จะคล้ายกับ Virus แต่ไม่ง่ายเท่า เพราะว่าโปรแกรม Trojan มีขนาดที่ใหญ่กว่าไวรัสมาก การป้องกันทำดังนี้
1. ไม่รับไฟล์ใดทาง Internet จากคนแปลกหน้าไม่ว่าทาง E-Mail ICQ และโปรแกรม IRC ต่างๆ
2. ตรวจสอบไฟล์ที่รับทาง Internet ทุกครั้งด้วยโปรแกรมตรวจจับTrojan รวมทั้งที่ Download มาด้วย
3. ไม่เข้าเว็บไซต์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
4. เวลาที่คุยกับคนอื่นทาง Internet (สำหรับนัก Chat) อย่าไปก่อกวนคนอื่นหรือสร้างความหมั่นไส้ให้เขาเพราะอาจเจอเข้ายิง Nuke เข้าใส่เครื่องของคุณ

Trojan มีหลายตัวมากเหมือนไวรัส ที่ตัวใหม่ๆ ออกมาบ่อย แต่เท่าที่พบบ่อยมากที่สุดมีอยู่ 3 ตัว คือ BO Net Bus และ Girl Frifnd โดยที่ส่วนใหญ่ใช้ 2 ตัวแรกในการขโมย Password กับเข้าควบคุมเครื่องเป้าหมาย แต่ตัวสุดท้ายนี่ชื่อก็บอกอยู่แล้ว Girl Friend ไว้สำหรับแอบดูว่า เพื่อนสาวหรือเพื่อนชายแอบ(แฟน) แอบเจ้าชู้ไหมทำอย่างไรจึงรู้ว่ามีผู้บุกรุก
การที่จะรู้ว่ามีผู้บุกรุกแล้วอันนี้ตรวจสอบค่อยข้างยากเพราะไม่ค่อยออกอาการเหมือนไวรัส ถ้าผู้ที่แอบเข้ามาในเครื่องไม่แสดงตัวก็จะไม่รู้ได้เลยว่ามีผู้บุกรุกเข้ามาในเครื่องเราแล้ว นอกจากใช้โปรแกรมตรวจจับ หา Download ได้ทาง Internet วิธีที่พอจะทำให้รู้ว่ามีเครื่องมีเจ้า Trojan แล้วทำได้ดังนี้
1. หมั่นใช้โปรแกรมตรวจจับโทรจัน บ่อยๆ และหมั่น Upgrade โปรแกรมตรวจจับโทรจัน
2. คอยสังเกตดูอาการต่างๆ ที่ผิดปกติของเครื่อง
3. ทุกครั้งที่เล่นอินเทอร์เน็ท ต้องบันทึกวันเวลาและจำนวนชั่วโมงที่ใช้เสมอ และตรวจสอบกับทาง ISP ว่าตรงกันหรือไม่
4. ทุกครั้งที่ Log in เข้าระบบไม่ได้ทั้งที่ชั่วโมงอินเทอร์เน็ทยังไม่หมด ให้สันนิษฐานว่าโดนขโมย Username กับ Pass word ให้ตรวจสอบกับทาง ISP

บทที่ 5

บทที่ 5
1. อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
 Wold Wide Web ( WWW )
     World Wide Web
หรือที่เรามักเรียกสั้นๆว่า Web หรือ W3 (WWW) คือ คอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งบนอินเตอร์เน็ต ที่ถูกเชื่อมต่อกันในแบบพิเศษที่ทำให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นสามารถเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาที่เก็บไว้ภายในของแต่ละเครื่องได้ (กลายเป็นแหล่งข้อมูลขนาดใหญ่) โดยผ่านทาง บราวเซอร์ (Browser) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ประเภทหนึ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อ่านและตอบโต้ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ใน World Wide Web โดยเฉพาะ บราวเซอร์ที่พบเห็นได้มากที่สุดในปัจจุบัน ได้แก่ Internet Explorer ของ และ Firefox
การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนา ภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)
การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอิน ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง...
ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้
"World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that runs over the Internet."

E-Mail (Electronic Mail)
     
คือจดหมายอิเลคทรอนิกส์ ที่ใช้รับส่งกันโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์บางแห่งใช้เฉพาะภายใน บางแห่งใช้เฉพาะภายนอกองค์กร (สำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกคือ internet) การใช้งานก็เหมือนกับเราพิมพ์ข้อความในโปรแกรม word จากนั้นก็คลิกคำสั่ง เพื่อส่งออกไป โดยจะมีชื่อของผู้รับ ซึ่งเราเรียกว่า Email Address เป็นหลักในการรับส่ง

เว็บเบราว์เซอร์ (web browser)
       
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ Web Browser สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
Internet Explorer
Mozilla Firefox
Google Chrome
Safari

Domain Name (
โดเมน)
       
โดเมนเนม ความหมายโดยทั่ว ๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
       
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
  1.  
โดเมน 2 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
  2.  
โดเมน 3 ระดับ   ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ  จะประกอบด้วย  www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้
    * .com
คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .org
คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
    * .net
คือ องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
    * .edu
คือ สถาบันการศึกษา
    * .gov
คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .mil
คือ องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ  จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
 
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
    * .co
คือ บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
    * .ac
คือ สถาบันการศึกษา
    * .go
คือ องค์กรของรัฐบาล
    * .net
คือ องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
    * .or
คือ องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
    * .th  
คือ ประเทศไทย
    * .cn  
คือ ประเทศจีน
    * .uk  
คือ ประเทศอังกฤษ
    * .jp  
คือ ประเทศญี่ปุ่น
    * .au  
คือ ประเทศออสเตรเลีย

IP address 
      
ย่อมาจาก Internet Protocol Address หมายถึง หมายเลขประจำเครื่องที่ต้องกำหนดไว้ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกๆ เครื่องและอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย Network ซึ่งแต่ละหมายเลข IP Address ที่จะกำหนดให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน ซึ่ง IP จะถูกกำหนดเป็นตัวเลขทั้งหมด เช่น 111.222.333.444 ในสมัยแรกๆของการใช้คอมพิวเตอร์ที่ยังไม่มีการต่อเชื่อมข้อมูลระหว่างกัน IP Address จึงไม่มีความจำเป็น แต่ในยุคหลังมีการพัฒนาการระบบการสื่อสารกันขึ้น การส่งข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอีกที่ที่หนึ่ง หรือ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่ง มีความจำเป็นที่จะต้อง มีการจัดลำดับ ระบบเส้นทางการสื่อสาร เนื่องจากมีผู้ที่ใช้งานเป็นจำนวนมาก จึงใช้ระบุตัวตน ต้นทางและปลายทาง ในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ดังนั้นการที่เราใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ และมีการเชื่อมต่อการสื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การ เล่น MSN Hi5. Facebook  Camfrog เหล่านี้ ตามปกติของกฏหมายแล้ว หน่วยควบคุมการสื่อสารกลางหรือที่เรียดว่า Sever มีหน้าที่ๆต้องเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ตามที่กฎหมายกำหนด ถ้าหากมีการโพส ข้อมูลลงใน แหล่งการติดต่อสื่อสารต่างๆ ระบบSever ก็จะมีการบันทึก ข้อมูลของผู้ใช้งานนั้นโดยอัตโนมัติ


2. อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
       
อีกกลุ่มเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงจะไม่ส่งผลกระทบในทางลบขนาดนั้น  แต่กลับมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตเพื่อขยายขอบเขตของมหาวิทยาลัยสู่กลุ่มคนที่ใหญ่ขึ้นได้ van Vught (1997) เชื่อว่า information technology จะเข้ามาช่วยให้การเรียนการสอนได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่จะไม่สามารถเข้ามาแทนที่การมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยได้ โรงเรียนและมหาวิทยาลัยจะยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาแต่ก็ 
ยอมรับกันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จากเดิมที่เป็นห้องเรียนมีผนังล้อมรอบก็จะเป็น school without wall  และเปลี่ยนจากการเรียนการสอนแบบบรรยายในชั้นเรียนมาเป็นแนวการเรียนการสอนแบบกระตุ้นให้เรียน 
และค้นคว้าเป็นทีม (stimulate team-based learning) 
       ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสารข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย  แต่ละ web site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ  รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มีหนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online   การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร 
ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว  ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้ การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีดความสามารถของตนเอง  ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า  นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้องก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group 


บทที่ 4

บทที่ 4
1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

 
  -  สายทองแดงแบบไม่หุ้มฉนวน (Unshield Twisted Pair)
    -  
สายทองแดงแบบหุ้มฉนวน (Shield Twisted Pair)
    -  
สายโคแอคเชียล (Coaxial)
    -  
ใยแก้วนำแสง (Optic Fiber)

ข้อดี
1.
ป้องกันสัญญาณรบกวน
2.
มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล 10/100Mbps
3.
มีฉนวนด้านนอกหนา
4.
ใช้งานในการเชื่อมต่อระยะทางใกล้ๆ

ข้อเสีย
1.
ไม่สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร
2.
มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำ


 2.
หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN TOPOLOGY) แบบใดเพราะอะไร 
      
แบบ Hybrid เป็นการเชื่อมต่อที่ผสนผสานเครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ Bus, ระบบ Ring และ ระบบ Star มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งระบบ Hybrid Network นี้จะมีโครงสร้างแบบ Hierarchical หรือ Tre ที่มีลำดับชั้นในการทำงาน


บทที่ 3

บทที่ 3

1. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละระบบ
 
   ในระบบคอมพิวเตอร์จะมีการจัดโครงสร้างข้อมูล (Data Structure) ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่มีขนาดต่างกัน ดังนี้
   
 บิต (Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด ซึ่งเป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้งานได้ ได้แก่ เลข 0 และ เลข 1
 
  ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0,1…9, A, B,…Z ซึ่ง 1 ไบต์ จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว
     
ฟิลด์ (Flied) คือ อักขระ ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป รวมกันเป็น ฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว ชื่อสกุล เป็นต้น
     
เรคคอร์ด (Record) คือ การนำเอาฟิลด์หลายฟิลด์และมีความสัมพันธ์มารวมกลุ่มกัน เช่น นักเรียนแต่ละคนจะมีข้อมูลที่เกี่ยวกับ ชื่อ สกุล อายุ เพศ เกรดเฉลี่ยฯลฯ โดยข้อมูลในลักษณะนี้คือ 1 เรคคอร์ดนั่นเอง
   
 แฟ้มข้อมูล หรือ ไฟล์ ( Flies) คือ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน และเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น แฟ้มข้อมูลนักเรียนห้อง ม.1/1 จำนวน 50 คน ทุกคนจะมีข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ สกุล เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ฯลฯ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดนี้ของนักเรียนจำนวน 50 คนนี้ เรียกว่า แฟ้มข้อมูล
     
ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องมารวมกัน

2.
จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์
 
  การประมวลผลแบบแบตช์ (Batch Processing) เป็นการประมวลผลโดยการที่ต้องรวบรวมข้อมูลเป็น
กลุ่ม ณ ช่วงเวลาหนึ่ง (Batch Period) ก่อนนำข้อมูลนั้นเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์และประมวลผลทีละกลุ่ม
     
การประมวลผลแบบเรียลไทม์ (Real-Time Processing) เป็นการประมวลผลแบบทันทีทันใด เมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าไป คอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์ออกมาอย่างรวดเร็ว  ไม่ต้องคอยเวลาในการประมวลผล

บทที่ 2

บทที่ 2
1. จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำต่อไปนี้
 Hardware
          หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) ไม่รวมระบบข้อมูล เช่น จอภาพ  คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น
ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ
           หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น
            หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
                         - อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ แป้นอักขระ (Character Keys) แป้นควบคุม (Control Keys) แป้นฟังก์ชัน (Function Keys) แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
                         - อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น
                         - จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)
                         - ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
                         - อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง  (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่าย ภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
                         - อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)
             หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
                          - หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บ ข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง
                          - หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการมักจะออกมาในรูปของกระดาษ
             หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit) เนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้า ปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรม มาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล สำรอง
                             ส่วนประกอบอื่น ๆ ได้แก่
                                        - แผงวงจรหลัก (Main Board)
                                        - ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Inteface)
                                        - อุปกรณ์พีซีการ์ด (PC-Card)
                                        - อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data communication device)
                                        - ยูพีเอส (UPS)

Software
          การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้น การดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งซอฟต์แวร์ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฏชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคา ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานได้ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับขั้นตอนของการทำงาน ชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคุณลักษณะของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น
            ชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)
            ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software: OS)
หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
             1. ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
             2. ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์

 Peopleware (บุคลากร)
     หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้
     1. ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
     2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
     3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
     4. ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็นตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลได้รับจากการกำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น

Data
      ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

Information
       สารสนเทศ (information) เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศสิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกันอย่างมีระบบ ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล

2. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ 

 ระบบสารสนเทศสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปประสิทธิภาพสูงที่ถูกออกแบบและพัฒนามาเพื่อสร้างระบบสารสนเทศในโรงเรียนโดยสามารถเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ประเมินผลของงานทั้ง 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายแผนงานงบประมาณ ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายบริหารทั่วไป และสามารถหลอมรวมเป็นสารสนเทศของโรงเรียน ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนสามารถใช้นำเสนอเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพฯ และตอบสนองยุทธศาสตร์ของ สพฐ.ได้ ด้วยข้อมูลที่ครอบคลุมอย่างรอบด้าน ทั้งในปัจจุบันและ ย้อนหลังถึง 5 ปี ข้อมูลสภาพแวดล้อมและแนวโน้มต่าง ๆ ผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ของนักเรียน ครูและโรงเรียนข้อมูล กรรมการสถานศึกษาและผู้มีอุปการะคุณ ข้อมูลอาคารสถานที่ พัสดุครุภัณฑ์ แผนงาน งบประมาณ ข้อมูลประวัตินักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความสามารถในการอ่าน-เขียน พิมพ์แบบ ปพ.1 ปพ.2 และ ปพ.7 ได้ ข้อมูลน้ำหนักส่วนสูงและภาวะทางโภชนาการ ทุนการศึกษา ข้อมูลประวัติครูและบุคลากร ทางการศึกษาสาขาวิชาที่จบ ตำแหน่งเงินเดือนวิทยะฐานะ ผลงานทางวิชาการ ความดีความชอบ ฯลฯ

บทที่ 1


บทที่ 1


1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
เทคโนโลยี      
         เทคโนโลยี หมายถึง การนำแนวคิด หลักการ เทคนิค วิธีการกระบวนการตลอดจนผลิตผล ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในระบบงานต่างๆ เพื่อปรับปรุง ระบบงานนั้นๆ ให้ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะเห็นได้ว่า  ในปัจจุบันในวงการต่างๆ เช่นเกษตร แพทย์ อุตสาหกรรม  ธุรกิจ ทหาร ต่างก็นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
         คำว่า เทคโนโลยี ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่ระบบ อย่างไรก็ตามคำว่า เทคโนโลยี มักนิยมควบคู่กับคำว่า วิทยาศาสตร์ โดยเรียกรวม ๆ ว่า "วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี"ซึ่ง พจนานุกรมฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน (2539 : 406) ได้ให้ความหมายของเทคโนโลยี คือ   วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอาวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรม นอกจากนั้นยังมีผู้ให้ความหมายของเทคโนโลยีไว้หลากหลาย ดังนี้ คือ
          พจนานุกรมเว็บสเทอรส์  (Websters 1994)  ได้ให้ความหมายของคำ "เทคโนโลยี" ไว้ดังนี้
          1.  การใช้การวิทยาศาสตร์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านอุตสาหกรรมและพานิชยกรรม  องค์รวมทั้งของวิการและวัสดุที่ใช้เพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
          2.  องค์ความรู้ที่มีอยู่ในอารยธรรมเพื่อใช้ในการเพิ่มพูน ฝึกหัดด้านศิลปะและทักษะความชำนาญเพื่อให้ได้มาซึ่งวัสดุ
            ตัวอย่างเทคโนโลยี ได้แก่ เครื่องพิมพ์ดีด อิเล็กทรอนิกส์ โทรศัพท์ เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น

สารสนเทศ
           สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่มีสาระอยู่ในตัว สามารถสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจกับผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลนั้น และสามารถที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้ การที่จะได้มาซึ่งสารสนเทศที่ต้องการนั้นจะต้องนำข้อมูล (data) ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจมาทำการประมวลผลเสียก่อน โดยข้อมูลที่นำมาประมวลผลนั้นอาจจะมาจากแหล่งข้อมูลทั้งภายในหรือภายนอกองค์การ
            ตัวอย่างสารสนเทศ ได้แก่ ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น

 เทคโนโลยีสารสนเทศ
            เมื่อนำคำว่า "เทคโนโลยี" และ "สารสนเทศ"มารวมกันเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงหมายถึง วิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพ ในเรื่องของความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้องซึ่งเป็นเทคโนโลยี ที่มีการนำคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสำหรับการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม มาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ โดยนำข้อมูลป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
            ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ระบบเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) หรือระบบถอนเงิน หรือฝากเงินของธนาคาร โดยอัตโนมัติ

ข้อมูล
             ข้อมูล (Data)  หมายถึง  ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่้งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผลซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น
              ตัวอย่างข้อมูล ได้แก่.....
              - ข้อมูลตัวเลข จะประกอบด้วยตัวเลขเท่านั้น เช่น 145 , 2468 เป็นต้น มักจะนำมาใช้ในการคำนวณ
              - ข้อมูลอักขระ  ประกอบด้วย ตัวอักษร  ตัวเลข  และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่  13/2  เป็นต้น  ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ
              - ข้อมูลภาพ  รับรู้จากการมองเห็น  เช่น ภาพดารา  ภาพสัตว์ต่าง ๆ
              - ข้อมูลเสียง  รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน  เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น

ฐานความรู้
              ฐานความรู้ หมายถึง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้เรื่องต่างๆ การเรียนรู้สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดผ่านประสาทรับความรู้สึกทั้ง 5 ของเราซึ่งประกอบด้วย ตา หู จมูก ลิ้น เเละกาย รับรู้สิ่งต่างๆรอบตัวเข้ามาไว้ และอาศัย ใจ ของเราในการเสริมสร้างเป็นฐานความรู้ขึ้น เกิดเป็นความรู้ของ เรา ที่มีองค์ความรู้ อันเป็น มรดกเราเอง เป็นของเราเองเพื่อเป็นการพัฒนาเราเอง จากความรู้อันเป็นส่วนผสมของการอ่าน-ฟัง ทักษะ ประสบการณ์ และการประมวลความรู้ของเรา สามารถพัฒนาเกิดปัญญา อันเป็นความรอบรู้ ที่มีสติ สมาธิ เป็นพื้นฐาน และสามารถใช้ประโยชน์ต่อสาธารณชนได้ต่อไป
              ตัวอย่างฐานความรู้ ได้แก่ การอ่าน, ทักษะในด้านต่างๆ, ประสบการณ์ ฯลฯ


2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
    โครงสร้างสารสนเทศมี 4 ระดับ ดังต่อไปนี้
     ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าการประมวลผลรายการ เช่น การบันทึกยอดขายประจำวัน
      ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำ ซึ่งเรียกว่างานควบคุมการดำเนินงาน เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ในการรวบรวมข้อมูลประมวลผลว่าในแต่ละเดือนต้องวางแผนในการสั่งผลิตสินค้าเท่าไหร่ถึงจะพอกับความต้องการของลูกค้าหรือจะผลิตสต๊อกไว้เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม
     ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่างานจัดการ เช่น การประเมินผลการทำงานประจำปีของพนักงาน
     ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์ เช่น การประเมินสรุปผลยอดขายในแต่ละปี